ที่ตั้งของโครงการ


จากการเสด็จประพาสต้นภาคเหนือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ ทรงทอดพระเนตรเห็นความทุกข์ยากลำบากของราษฎร และปัญหาการปลูกฝิ่นอันเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติจึงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขาขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการปลูกฝิ่นโดยโครงการส่งเสริมให้ปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวไทยภูเขาต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๗ มีพระบรมราโชวาทให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จัดตั้งนิติบุคคลชื่อ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด (Doi Kham Food Products Co.,Ltd.) เพื่อความสะดวกในการดำเนินธุรกิจเชิงพาณิชย์โดยรองรับผลผลิตของมูลนิธิโครงการหลวงและเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปทั้ง ๓ แห่ง เพื่อผลิตสินค้าที่มีคุณภาพภายใต้ชื่อตราผลิตภัณฑ์ ดอยคำ




โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปตั้งอยู่ที่ บ้านยาง ตำบลแม่งอน อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่ ในระยะแรกของการดำเนินการ โรงงานมีลักษณะ เป็นเพียงโรงงานเคลื่อนที่โดยใช้รถยนต์ดัดแปลงให้เป็นโรงงานเคลื่อนที่ต่อมาได้ใช้อาคารของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเป็น โรงงานชั่วคราว ซึ่งการที่ตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นมานั้นเกษตรกรสามารถนำเอาผลผลิตมาจำหน่ายได้ในราคายุติธรรมต่อมาได้มีการสร้างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นในบริเวณที่เป็นตลาดร่มเกล้าและสหกรณ์แม่งอนเดิมเมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จ โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปได้แบ่งบุคลากรออกเป็น ๓ ฝ่ายหลักคือ ผู้จัดการที่มีความรู้เรื่องการถนอมอาหาร เจ้าหน้าที่ควบคุมคุณภาพ และ ช่างลักษณะของการดำเนินโครงการหลวงนี้จะมีลักษณะเป็นแบบการพัฒนาชนบท ซึ่งจากประวัติความเป็นมามักจะเริ่มต้นด้วยการพัฒนาท้องที่ มีการจัดตั้งสถานีอนามัยชั้นสองและศูนย์โภชนาการเด็กเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยของคนในชุมชนควบคู่ไปด้วยอันถือได้ว่าเป็นการสะท้อนแนวคิดด้านการช่วยเหลือประชาชนบนพื้นที่สูงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)จัดเป็นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม กล่าวคือยึดเอาแนวคิดด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมมาใช้ ทั้งการใช้พลังงานในโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) ที่นำเอาพลังงานน้ำมาใช้ รวมทั้งการกำจัดของเสีย อย่างไรก็ตามพื้นที่ตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)ประสบกับปัญหาการเกิดอุทกภัยขึ้นหลายครั้งโดยอุทกภัยครั้งใหญ่ที่ทำความเสียหายให้โรงงานได้เกิดขึ้นจำนวน ๒ ครั้งโดยครั้งที่ ๑ เกิดเมื่อวันที่ ๑๓ - ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ส่วนครั้งที่ ๒ นั้นเกิดจากการที่น้ำท่วมและดินโคลนถล่มลงมาตามลำห้วยแม่งอน แม่ขาน และแม่ขานน้อยลงมาสู่ที่ราบ เนื่องจากเกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ในวันที่ ๘ - ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๔๙ ทำให้เกิดความเสียหายกับโรงงานเป็นอย่างมาก รวมไปถึงมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจำนวน๑๕ หมู่บ้าน ภายหลังอุทกภัยในครั้งนี้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของ บจ.ดอยคำฯได้วางแนวทางการดูแลฟื้นฟูโรงงานหลวง ออกเป็น ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านงานพิพิธภัณฑ์ด้านงานการผลิตและการฟื้นฟูโรงงานหลวง ด้านการเรียนรู้ และด้านธุรกิจสนับสนุนโดยเริ่มเปิดดำเนินการผลิตอีกครั้งในเดือน พฤษภาคม ปี พ.ศ. ๒๕๕๒

โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒(แม่จัน)

ตั้งอยู่ที่ หมู่บ้านป่าห้า ตำบลป่าซาง อำเภอแม่จันจังหวัดเชียงราย ก่อตั้งขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๕๑๗ โดยมี ศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตนในนามของสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัเกษตรศาสตร์เป็นผู้อำนวยการ ดำเนินการอยู่ภายใต้การควบคุมของหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนีเช่นเดียวกันกับที่โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง)โดยมีจุดประสงค์เพื่อรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกพืชเมืองหนาวทดแทนการปลูกฝิ่นจากมูลนิธิโครงการหลวงโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน)เปิดทำการทดลองผลิตข้าวโพดฝักอ่อน น้ำนมถั่วเหลือง เมื่อ วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๗ ซึ่งได้รับพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ ๑๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป และได้ทูลน้อมเกล้าฯ ถวายโรงงาน เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งนอกจากเงินทุนส่วนนี้แล้ว ยังมีเงินทุนสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ บริษัทต่างประเทศ และรัฐบาลต่างประเทศ โดยเสด็จพระราชกุศลถวายเงิน ที่ดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งปลูกสร้างด้วยเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป และได้ทูลน้อมเกล้าฯ ถวายโรงงานเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งนอกจากเงินทุนส่วนนี้แล้วยังมีเงินทุนสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ บริษัทต่างประเทศ และรัฐบาลต่างประเทศโดยเสด็จพระราชกุศลถวายเงิน ที่ดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งปลูกสร้างด้วยเพื่อเป็นทุนหมุนเวียนของโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป และได้ทูลน้อมเกล้าฯ ถวายโรงงานเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๙ ซึ่งนอกจากเงินทุนส่วนนี้แล้วยังมีเงินทุนสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่ บริษัทต่างประเทศ และรัฐบาลต่างประเทศโดยเสด็จพระราชกุศลถวายเงิน ที่ดิน เครื่องจักร อุปกรณ์ และสิ่งปลูกสร้างด้วยนอกจากจะมีการสร้างโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแล้วยังมีการจัดตั้งสหกรณ์การเกษตร เพื่อจัดจำหน่ายปุ๋ย สารเคมีและเครื่องอุปโภคบริโภคทางการเกษตร แก่เกษตรกรด้วยเพื่อให้เกษตรกรได้ใช้สินค้าที่มีราคาถูกและยังมีการจัดตั้งศูนย์โภชนาการเด็กเพื่อให้เด็กได้รับโภชนาการที่ถูกต้องและเติบโตเป็นประชาชนที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและสติปัญญาและพระราชทานสถานีอนามัยชั้นสองเพื่อให้ชาวบ้านสามารถเข้ามารับคำแนะนำในด้านสุขภาพอนามัยให้รู้จักป้องกันและดูแลรักษาตนเองในเรื่องของความเจ็บป่วยและความปลอดภัยโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน)จะรับซื้อผลผลิตจากอำเภอแม่สาย อำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน และอำเภอเมืองจังหวัดเชียงรายโดยมีผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากถั่วเหลืองเป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงงานแห่งนี้เนื่องจากว่ามีเครื่องจักรผลิตแป้งถั่วเหลือง ไขมันเต็มรูปแบบ (Full Fat Soy Flour) เป็นแห่งแรกของประเทศไทย


โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย)

โรงงานแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร(ในสมัยนั้นเป็นกิ่งอำเภอเต่างอย) ถือกำเนิดขึ้น ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศ จังหวัดสกลนครได้เสด็จไปยังหมู่บ้านนางอย ~ โพนปลาโหล เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๓ และได้ทอดพระเนตรเห็นความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นของราษฎร จึงมีพระราชดำริให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ และศาสตราจารย์ อมร ภูมิรัตน เข้าไปดำเนินการ โดยมีพระราชดำริเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา คือจึงมีพระราชดำริให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ และศาสตราจารย์ อมรภูมิรัตน เข้าไปดำเนินการ โดยมีพระราชดำริเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา คือจึงมีพระราชดำริให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธ์ และศาสตราจารย์ อมรภูมิรัตน เข้าไปดำเนินการ โดยมีพระราชดำริเกี่ยวเนื่องกับการพัฒนา คือ๑. ปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น ๒. ส่งเสริมให้มีรายได้๓. หลังจากพัฒนาแล้วชาวบ้านสามารถรักษาสภาพความเป็นอยู่และพัฒนาต่อไปได้ด้วยตนเองเมื่อเริ่มโครงการพัฒนานั้นประชาชนมีความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นอย่างมากขาดแคลนอาหารและน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภคอีกทั้งเป็นพื้นที่ที่ถูกรบกวนโดยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยรัฐบาลไทยจึงได้จัดให้เป็นพื้นที่สีแดง อย่างไรก็ตาม เมื่อเริ่มเข้าไปพัฒนา สำรวจพบว่ามีหมู่บ้านที่ยากจนเช่นกันอีกจำนวน ๓ หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านห้วยหวดหมู่บ้านกวนปุ่น และหมู่บ้านโคกกลางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ รับหมู่บ้านดังกล่าวให้อยู่ในโครงการเพิ่มเติมจากหมู่บ้านนางอยโพนปลาโหลจากโครงการตามพระราชดำริดังกล่าวจึงมีการจัดตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปขึ้นโดยมูลนิธิโครงการหลวงได้นำเอาแนวคิดมาจากการพัฒนาในพื้นที่ภาคเหนือ คือโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) กับโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน)มาเป็นต้นแบบ ซึ่งโรงงงานหลวงแห่งนี้ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ถือเป็นโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปแห่งที่ ๓เริ่มทำการผลิตน้ำมะเขือเทศเข้มข้นเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดแรกของโรงงานและต่อมามีการส่งเสริมให้ปลูกข้าวโพดฝักอ่อน และแปรรูปสินค้าเพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศส่วนในงานพัฒนาชุมชนที่ดำเนินการควบคู่ไปนั้นได้มีการสร้างศูนย์โภชนาการเด็ก เพื่อลดสภาพการขาดสารอาหารในเด็กการสร้างสถานีอนามัย การจัดทำธนาคารข้าว การซ่อมและการสร้างวัดการขุดบ่อน้ำบาดาลและการจัดหาถังเก็บน้ำฝน และงานสุขาภิบาลชุมชน ทางด้านการพัฒนาอาชีพนั้นส่งเสริมให้มีการปลูกมะเขือเทศ ข้าวโพดฝักอ่อน ไผ่ตง และมะละกอ โดยโรงงานหลวงฯ ที่๓ (เต่างอย) ได้รับซื้อผลิตผลส่วนใหญ่จากเกษตรกรในพื้นที่กิ่งอำเภอเต่างอยกิ่งอำเภอโคกศรีสุพรรณ อำเภอกุดบาก และอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร และขยายตลาดการรับซื้อไปถึงจังหวัดนครพนมจังหวัดมุกดาหาร และจังหวัดหนองคาย ในปี ๒๕๒๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้มีพระราชดำริให้ โรงงานหลวงฯ เป็นแหล่งให้การศึกษาด้านเทคนิคแก่นักเรียนในพื้นที่และให้การศึกษาวิชาชีพระดับสูงแก่ลูกหลานเกษตรกรเพื่อให้สามารถรับผิดชอบโรงงานหลวงฯ ได้เพิ่มขึ้น ต่อมาในปี ๒๕๕๔ เนื่องจากเครื่องจักรผลิตหลักของโรงงานมีการชำรุดทรุดโทรม เพราะอายุการใช้งานเป็นเวลานานและไม่เหมาะสมกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพเพื่อการแข่งขันในตลาดทั่วไปคณะผู้บริหารจึงได้ถวายรายงาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จึงทรงมีพระราชดำริให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ทำการปรับปรุงโรงงานทั้งอาคาร พื้นที่และเครื่องจักรผลิตมะเขือเทศให้ทันสมัย โดยเริ่มดำเนินการอีกครั้ง ในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๕












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น